Colonial American Craftsmen.


Country: United States
Date of Issue: July 4, 1972
Scott Catalogue Number(s): 1456-59
Description: Mint, never hinged block of four stamps. This Colonial American Craftsmen issue is a part of the American Revolution Bicentennial series; these stamps commemorate the contributions of Colonial artisans to the early development of America. The stamps depict a glass maker, a silversmith, a wigmaker, and a hatter.
The actual size of this block of four stamps is 51 x 80 mm.

ครั้งนี้ขอนำเสนอข้อมูลประกอบแสตมป์ที่พึ่งได้มาใหม่คือ หนึ่งในซีรี่ย์ Colonial American Craftsmen ซึ่งที่ได้มาคือ a wigmaker คราวนี้เรามาลองหาข้อมูลเกี่ยวกับ a wigmaker ว่ามันสำคัญอย่างไรทำไมถึงได้มาอยุ่ในซีรี่ย์นี้

เรื่องแรกซีรี่ย์นี้ชื่อ Colonial American Craftsmen เป็นแสตมป์ที่ระลึก 2 ศรรษวรรต การปฏิวัติอเมริกาจากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรอังกฤษซึ่งครบรอบ 200 ปี เมื่อ July 4, 1976 ซึ่งในปี 1976 นั้นมีการเฉลิมฉลองอย่างใหญ่โตมโหฬาร ซึ่งโปรเจ็คนี้ไม่ธรรมดาเพราะมีการวางแผนเป็นสิบปี ตั้งแต่ปี 1966 และในช่วงเวลานั้นก็ได้มีการออกแสตมป์ที่ระลึกมาหลายแบบ ตามภาพที่นำมาโชว์เป็นภาพ a wigmaker ซึ่ง วิกผมในอเมริกานั้นเมื่อก่อนถูกใช้ในแวดวงสังคม ทั้งในสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี วิกจะเป็นเครื่องแสดงถึงความมั่งคั่งหรือ สถานภาพทางสังคม และเมื่อยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป การสวมวิกเพื่อแสดงสถานภาพทางสังคมนั้นได้ลดลง ในปัจจุบันสิ่งที่ผมว่ามาทดแทนวิกน่าจะเป็น smart phone

The International Maritime Organization/องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ

world-political-map-robinson-large

  • นับตั้งแต่ยุคคริสตวรรษที่ 15 เป็นต้น เมื่อชนชาติยุโรปเริ่มออกสำรวจท้องทะเล ทั้งนี้ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง อาทิเช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการเดินสมุทร การเผยแพร่ศาสนา การค้า ฯลฯ การเดินทางในท้องมหาสมุทรของโลกเราก็พัฒนามาเรื่อย ชนชาติที่เกี่ยวข้องก็คงจะไม่พ้นกลุ่มที่มีเขตแดนติดกับทะเล ซึ่งก็มีวิธีหามูลค่าจากทะเลในหลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นแหล่งอาหาร เป็นเส้นทางสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(คู่ค้า, คู่สงคราม ฯลฯ) ท่องเที่ยว ฯลฯ
  • จากการเดินทางในทะเลในอดีตจนถึงปัจจุบัน การค้าทางทะเลนับว่าเป็นเหตุผลหลักของการเดินทางเสมอ และเพื่อให้การเดินทางแต่ละครั้งเป็นไปอย่างราบรื่นถึงแม้ต้องพบเจอกับความร้ายกาจของทะเล และภัยจากโจรสลัด ประเทศที่มีผลประโยชน์ทางทะเลจึงร่วมกันจัดตั้ง “องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ” ขึ้นมา โดยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ และจัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี 2502
  • องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ มีหน้าที่หลักคือกำหนดมาตรฐาน และความปลอดภัยในการเดินเรือ ระหว่างประเทศ มีสมาชิก 170 กว่าประเทศ แบ่งกลุ่มสมาชิกเป็น 3 กลุ่ม
    • ประเภทกลุ่ม A เป็นประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในการให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ จำนวน10 ที่นั่ง ได้แก่ จีน กรีซ อิตาลี ญี่ปุ่น นอร์เว ปานามา เกาหลีใต้ รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
    • ประเภทกลุ่ม B เป็นประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในด้านการค้าที่ขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ จำนวน10 ที่นั่ง ได้แก่ อาร์เจนตินา บังกลาเทศ บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย เนเธอร์แลนด์ สเปน และสวีเดน
    • ประเภทกลุ่ม C เป็นประเทศสมาชิกที่มิได้อยู่ในกลุ่ม A หรือ B ซึ่งมีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทางทะเลหรือการเดินเรือและเป็นตัวแทนภูมิภาคต่างๆ ของโลก จำนวน20 ที่นั่ง ได้แก่ประเทศ ออสเตรเลีย บาฮามาส ชิลี ไซปรัส เดนมาร์ก อียิปต์ อินโดนีเซีย จาไมกา เคนยา มาเลเซีย มอลตา เม็กซิโก เบลเยียม ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ ไทย และตุรกี
  • ในปี 2560 ที่ผ่านมาไทยได้รับเลือกเป็นสมาชิกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO กลุ่ม C (ในลำดับที่ 16 จากจำนวน 20 ประเทศ) อีกวาระหนึ่ง (ร่วมกับประเทศจาเมกา และเคนยา)และนับเป็นสมัยที่ 7 ที่ประเทศไทยได้รับการเลือกตั้งติดต่อกัน ทำให้ประเทศไทยยังสามารถรักษาที่นั่งในองค์กรระดับบริหารขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดกฎเกณฑ์และมาตรฐานโลกด้านการขนส่งทางทะเล อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนางานด้านการขนส่งทางทะเลให้มีความก้าวหน้าและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าทางทะเลระหว่างประเทศของไทย
  • ผู้รับผิดชอบหลักของไทยคือ กรมเจ้าท่า

img_20180718_0911201557497068.jpg

ในภาพเป็นแสตมป์ที่ระลึกเมื่อคราวครบรอบ 25 ปี องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ มีการพิมพ์จำหน่ายในปี พ.ศ. 2526 มีสัญลักษณ์ขององค์การตรงมุมขวาบน ราคาหน้าแสตมป์ 1.25 บาท ข้อมูลที่พอจะหาได้คือ น่าจะเป็นภาพเรือสำเภาโบราณ (อาจจะเป็นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหารราช) ซึ่งมีการค้าขายระหว่างประเทศ

ในแสตมป์เป็นภาพเรือสำเภาทั้งแบบไทยและแบบจีน โดยเรือของไทยนั้นหากพิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่าชายไทยเราค่อนข้างจะให้ความสำคัญในงานศิลปะซึ่งมีการตกแต่งลาดลายบนเรืออย่างสวยงาม มีการสร้างห้องเฉพาะเจ้านาย และเราก็จะสังเกตได้ว่าพวกเรารู้มานานแล้วว่าปลาในมหาสมุทรนั้นตัวใหญ่ (เกี่ยวไหม )

ความสวยงาม **** (แน่นอนศิลปะไทยงดงามเสมอ)

รายละเอียด *** (ขาดตรงให้ข้อมูลที่มาน้อยไปหน่อย เช่น พ.ศ….) และหาค่อนข้างยาก

ความน่าสนใจ **** (ยุคสมัยแห่งโลกาภิวัฒน์มาถึงแล้ว)

โดยรวม ****

ขอขอบคุณ กรมเจ้าท่า และ suphannigablog.wordpress.com สำหรับข้อมูลครับ

เป็นกำลังใจให้คนทำblog กรุณากดติดตามหรือ กด donate

รถไฟปู้นๆๆๆๆๆๆ ปู่ทวดสูงเนิน 32

ประวัติศาสตร์รถไฟไทย อย่างย่อ

  • การรถไฟไทยนั้นเป็นการเริ่มจากการความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสยามและสหราชอาณาจักร (สมัยรัชกาลที่ 4) แต่เนื่องจากประเทศเรายังไม่มีความมั่นคงทางการคลังจึงเลื่อนการดำเนินการออกไปก่อน

  • เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของ ร.5 สยามประเทศเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความกดดันจากการคุกคามของประเทศตะวันตก ร.5 ท่านเล็งเห็นว่าหากต้องรักษาเอกราชไว้จำเป็นต้องมีการส่งกำลังที่รวดเร็ว จึงได้มีการริเริ่มก่อสร้างระบบรถไฟขึ้นมา
  • หลังจากการริเริ่มในครั้งนั้นการรถไฟไทยก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าจะต้องผ่านช่วงเวลาที่แสนจะยากลำบากจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย และกำลังจะการเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต

เรื่องน่ารู้คู่แสตมป์

  • สำหรับแสตมป์ที่นำมาแสดงนั้นเป็นแสตมป์ที่ระลึกครบรอบ 100 ปีหลังจากที่ ร.5 มีพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (พ.ศ. 2433) โดยเริ่มจำหน่าย 2533 ซึ่งแสตมป์ชุดนี้มี 4 รูป ในภาพเป็นแบบที่ราคา 3 บาท โดยเป็นหัวรถจักรจัดซื้อจากบริษัท เคียวซัน ค๊อกโยว แห่งฟูกูชิม่าประเทศญี่ปุ่น (จัดซื้อมา 3 คัน) เจ้าหมายเลข 32 นั้นเป็นรถจักรไอน้ำขนาดเล็กที่ใช้ขนาดราง 60 เซนติเมตร โดยหน้าที่หลักคือนำมาใช้ในกิจการเป็นรถจักรไอน้ำช่วยเหลือ โดยเฉพาะงานด้านการขนย้ายชักลากไม้ฟืนสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แก่รถจักรไอน้ำ มีชื่อ “สูงเนิน” คือชื่อที่ได้รับตามภารกิจและสถานที่ดั้งเดิมคือ สถานีรถไฟสูงเนิน นครราชสีมา ซึ่งเดิมทีเป็นสถานีสำหรับรถจักรไอน้ำเดินทางใช้รับไม้ฟื้นจากที่นี่เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งขาขึ้นและล่อง ดังนั้นด้วยภารกิจหนักหนาที่ต้องวิ่งทำงานอย่างหนักจนถึงวันปลดระวางทำให้ได้รับฉายาจาก คุณสรรพสิริ วิริยะศิริ ว่าเป็นรถจักรไอน้ำ “ปิดทองหลังพระ” ปัจจุบัน เจ้าสูงเนิน พักผ่อนอยู่ที่สถานีรถไฟ หาดใหญ่ จังหวัดสงลา
  • ความสวยงาม **** (ส่วนตัวมองว่าน่ารักดี)
  • น่าสนใจ ***** (ผมชอบรถไฟ)
  • ความสมบูรณ์ **** (สภาพยังค่อนข้างดี)
  • โดยรวม ****+ (ชอบส่วนตัว)

ครบซะทีกับชุดนี้

เป็นกำลังใจให้คนทำblog กรุณากดติดตามหรือ กด donate

Thai laws

  • รัฐธรรมนูญ 2560
  • ร่างยุทธศาสตร์ 20 ปี
  • พ.ร.บ. การจัดระเบียบ กห. 2560 และ 2551
  • พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง 2558
  • พ.ร.บ. เหรียญพิทักษ์เสรีชน พ.ศ. 2558 เป็น พ.ร.บ. ที่ออกมาเพื่อให้สิทธิแก่ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ความมั่นคงของชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อย และช่วยเหลือด้านความมั่นคงอื่นๆ สามารถศึกษาได้จาก LINK law47-020658-3
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบ ค่าทดแทน และการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และประชาชน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือช่วยเหลือราชการ เนื่องใน การป้องกันอธิปไตยและรักษาความสงบเรียบร้อยของ ประเทศ พ.ศ.๒๕๒๑ (ระเบียบ บ.ท.ช.) เป็นระเบียบในการพิจารณาให้สิทธิแก่ผู้ทำคุณความดีแก่ชาติ (เงิน พ.ส.ร., ฯลฯ)โดยมีคณะกรรมการ บ.ท.ช. ดำเนินการพิจารณา ศึกษาได้ที่ บ.ท.ช.2521
  • ข้อบังคับ กห. ว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษสำหรับการสู้รบในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 และ ฉบับที่แก้ไข เป็นข้อบังคับที่พิจารณาให้สิทธิแก่กำลังพลของ กห. ซึ่ง รมว.กห. กำหนดให้เป็นการปฏิบัติในเวลาเหตุฉุกเฉิน/ราชการพิเศษ ฉบับล่าสุดคือ ปี 2559 สามารถศึกษาได้ที่ 221_1